พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เส้นทางเบื้องต้นจากภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร) สู่ภาษาธรรม(พระพุทธวจนะ)

ระหว่างที่ผู้สนใจเริ่มศึกษาธรรมกำลังพยายามจดจำ “จิต เจตสิก รูป” อยู่นั้น มีอยู่เรื่องหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟังก่อนเพื่อจะได้เห็นภาพเบื้องต้นว่าที่เรากำลังจะเดินทางกันจากภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร) ไปสู่พระพุทธวจนะ(ภาษาธรรม) นั้นจะเป็นอย่างไร

คนเราไม่ว่าชาติไหนก็มีภาษาสื่อสารของชาติตนเองเช่น คนไทย ใช้ภาษาไทย คนลาวใช้ภาษาลาว คนอังกฤษใช้ภาษาอังกฤษ คนฝรั่งเศษใช้ภาษาฝรั่งเศษ คนอเมริกันใช้ภาษาอังกฤษ คนจีนใช้ภาษาจีน คนรัสเซียใช้ภาษารัสเซีย คนอินเดียใช้ภาษาฮินดี คนพม่าใช้ภาษาพม่า คนสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ กับภาษาจีน ฯลฯ ที่เหลือนึกเอาเองต่อนะ มีอีกตั้งหลายชาติ หลายภาษา เคยสงสัยไหมว่าแล้วจะใช้ภาษาไหนเป็นหลักในการศึกษาธรรมละ? แต่ละชาติก็อาจบอกว่าใช้ภาษาของชาติตัวเองซิ อย่างคนไทยก็พยายามแปลข้อธรรมทุกอย่างให้เป็นภาษาไทย คนจีนก็พยายามแปลข้อธรรมให้เป็นภาษาจีน ฯลฯ แล้วตกลงแต่ละชาติก็จะแปลข้อธรรมต่างๆเป็นภาษาตัวเองหมดเลยหรือ? อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อชาวพุทธชาติต่างๆมาเจอกัน จะคุยกันรู้เรื่องไหมนี่ เข่น โทสะ

ภาษาไทย แปลว่า โกรธ

ภาษาอังกฤษ แปลว่า Angry

ภาษาจีน แปลว่า  

ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า 怒って  

ภาษาฝรั่งเศษ แปลว่า colère

ภาษารัสเซีย แปลว่า сердитый

ภาษาฮินดี แปลว่า नाराज

ฯลฯ

แล้วแต่ละคนใช้ภาษาของชาติตัวเองเมื่อมาเจอกันจะรู้ไหมว่าพูดเรื่องเดียวกันอยู่ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสสำหรับกรณีภาษาที่ใช้ในการศึกษาธรรมใว้ว่าดังนี้ (ต่อไปนี้เป็นคำแปลที่ยังไม่สุขุมคัมภีระตามคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า)

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๙/ ๙๑ มหามกุฏราชวิทยาลัย จุลวรรค ทุติยภาค และอรรถกถา

[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ตถาคตอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม.

                ดังนั้นไม่ว่าแต่ละชาติ แต่ละภาษาจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาสื่อสาร ทุกชาติต้องแปลกลับมาที่ภาษามคธเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่พระพุทธพจน์(ภาษาธรรม) ซึ่งแสดงให้เห็นได้ดังภาพต่อไปนี้




ขั้นตอนเบื้องต้นของการเดินทางจากภาษาโลกเข้าสู่ภาษาธรรม

ขั้นที่ ๑. แปลจากภาษาสื่อสารของแต่ละชาติกลับเข้าสู่ภาษามคธ เช่น

ภาษาไทย โกรธ แปลเป็นภาษามคธว่า โทสะ(มคธอักษรไทย) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาอังกฤษ Angry แปลเป็นภาษามคธว่า Dosa (มคธอักษรอังกฤษ) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาจีน แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรจีน) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาญี่ปุ่น 怒ってแปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรญี่ปุ่น) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาฝรั่งเศษ colère แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรฝรั่งเศษ) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษารัสเซีย сердитый แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรรัสเซีย) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาฮินดี नाराज แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรฮินดี) ออกเสียงว่า โท-สะ

ฯลฯ

ขั้นที่ ๒. จากภาษามคธเดินทางเข้าสู่พระพุทธพจน์

                ภาษามคธที่ออกเสียงว่า “โท-สะ” (“โทสะ” มคธอักษรไทย) เบื้องต้นภาษาธรรมหมายถึง โทสะมูลจิต ๒ ประกอบด้วย

                ๑. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

๒. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

ดังนั้นเมื่อชาวพุทธทั้งโลกมาพบกันทุกท่านจะออกเสียง “โท-สะ” ซึ่งภาษาธรรมเบื้องต้นหมายถึง โทสะมูลจิต ๒ เหมือนกัน


วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ระยะเวลากว่าจะบรรลุธัมม กับการศึกษาทางโลก

ทำไมธัมมะถึงยาก?

หากเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดขึ้นของความรู้ต่างๆที่เรามีในทุกวันนี้กับการเกิดของพระพุทธเจ้าจะเห็นว่ามีระยะเวลาที่แตกต่างกันอย่างมากการกำเนิดของภาษาที่คนใช้ในการสื่อสารจนพัฒนามาเป็นภาษาทุกวันนี้ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ และวิทยาการของคนทั้งหมดก็ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ ปี แต่พระพุทธศาสนาใช้เวลานานกว่านั้นมากๆ อย่างพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าปัญญาธิกะใช้เวลา ๒๐ อสงไขย กับอีกแสนกัปป (วันหลังจะอธิบายให้ฟังเพิ่มว่า อสงไขย คืออะไร และ กัปป คืออะไร) ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก

ดังนั้นการที่เรารู้สึกว่าพระพุทธศาสนายากไม่ใช่เรื่องแปลกแต่เราจะทำความเข้าใจได้ นึกเหมือนกับว่าเราเรียนหนังสือแล้วกัน ตั้งแต่เริ่มเรียนจนจบปริญญาตรีเราใช้เวลา ๑๖ ปี ปริญญาโท-เอก อีก ๖ ปี รวม ๒๒ ปี ซึ่งนั่นเราเรียนวิทยาการที่มีอายุในการพัฒนามาเพียงไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ ปี นี้เท่านั้นเอง แต่พระพุทธศาสนานานกว่านั้นมากๆ

ฉะนั้นเราก็ค่อยๆศึกษาพระพุทธศาสนาไปแบบเดียวกันกับที่เราเรียนหนังสือ อย่าใจร้อนเราไม่ได้จบปริญญาตรีในวันเดียว เราไม่ได้เข้าใจทุกอย่างในนาทีแรกที่เห็น แต่ศึกษาไปอย่างต่อเนื่องในที่สุดทุกคนก็จะเข้าใจเหมือนกัน

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

ทำไมมีแต่ จำ จำ จำ แล้วก็ จำ...

ทำไมมีแต่บอกให้จำ จำ จำ แล้วก็จำ จะเข้าใจก่อนได้รึเปล่า?

     หลายคนคงจะมีคำถามอย่างนี้อยู่ในหัวอยู่เสมอๆ แต่อาจจะไม่ได้ลองคิดทบทวนให้ละเอียดว่าสิ่งที่บอกว่า ต้องเข้าใจก่อนแล้วค่อยจำนั้นเราหมายความอย่างนั้นจริงๆ หรือเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม เบื้องต้นเราก็คงจะต้องมาดูว่าความเข้าใจที่เราพูดๆกันนั้นหมายถึงอะไร

     ความเข้าใจ คือกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคคลสามารถครุ่นคิดถึงสิ่งนั้น และสามารถใช้มโนทัศน์ (Concept) เพื่อจัดกับกับสิ่งนั้นได้อย่างเพียงพอ (th.wikipedia.org) ซึ่งจากคำอธิบายดังกล่าวจะเห็นว่าคนจะเข้าใจในเรื่องใดได้ก็ต่อเมื่อมีมโนทัศน์(Concept)ในเรื่องนั้นเพียงพอ เมื่อมาสู่การศึกษาธรรมะ เราแยกความแตกต่างระหว่างภาษาโลก-ภาษาธรรมไม่ออกเราจึงใช้มโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารที่เรามีมาทำความเข้าใจในภาษาธรรม ผลที่เกิดขึ้นจึงเหมือนจะเข้าใจ แต่เป็นความเข้าใจที่ใช้มโนทัศน์(Concept)ที่ผิด ไม่สามารถเข้าสู่ภาษาธรรมได้

     ดังนั้นการทำความเข้าใจธรรมะจะต้องเริ่มจากการแยกมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารออกจากการศึกษาธรรมะ และหามโนทัศน์(Concept)ที่ถูกต้องในการทำความเข้าใจธรรมะ ซึ่งในที่สุดเราก็จะพบว่าเราไม่มีอยู่เลย จึงเป็นที่มาว่าเรายังไม่สามารถทำความเข้าใจในธรรมะได้ แต่เราต้องเริ่มจากการจดจำเพื่อสร้างมโนทัศน์(Concept)ขึ้น และนำไปสู่การเข้าใจธรรมะในอนาคต

     ตัวอย่างเช่น โลภะเมื่อกล่าวถึงโลภะเราจะนึกได้ทันทีว่าความโลภ อยากได้ของคนอื่น ซึ่งเรารู้ไหมว่าทำไมเราถึงเข้าใจอย่างนั้น เราเข้าใจอย่างนั้นเพราะเมื่อเราเห็นคำว่า โลภะเราก็นำมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารมาใช้ ซึ่งเรารู้ในทันทีว่าโลภะแปลว่าความโลภ อยากได้ของคนอื่น ซึ่งเป็นการใช้มโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสาร ไม่ใช่ภาษาธรรม แล้วเมื่อเราถามตัวเองว่าแล้วภาษาธรรมหมายถึงอะไรละ? เราก็จะไม่ได้คำตอบ หรือไม่เราก็ได้คำตอบเดิมคือความโลภ อยากได้ของคนอื่น เพราะเรามีมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารเท่านั้น เราไม่มีมากกว่านั้น

     แล้วถ้าเราอยากมีมโนทัศน์(Concept)เพื่อเข้าใจในภาษาธรรมจะทำอย่างไร วิธีการง่ายมากคือ จำ จำ จำ แล้วก็จำ จนถึงวันหนึ่งจำได้มากพอก็จะเข้าใจได้เอง ซึ่งจากตัวอย่าง โลภะภาษาธรรมเบื้องต้นก็ต้องเข้าใจว่าคือ โลภะมูลจิต ๘ จิต ประกอบด้วย

     ๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง

     อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น โทสะเมื่อกล่าวถึงโทสะเราจะนึกได้ทันทีว่าความโกรธ ซึ่งเรารู้ไหมว่าทำไมเราถึงเข้าใจอย่างนั้น เราเข้าใจอย่างนั้นเพราะเมื่อเราเห็นคำว่า โทสะเราก็นำมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารมาใช้ ซึ่งเรารู้ในทันทีว่าโทสะแปลว่าโกรธ ซึ่งเป็นการใช้มโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสาร ไม่ใช่ภาษาธรรม แล้วเมื่อเราถามตัวเองว่าแล้วภาษาธรรมหมายถึงอะไรละ? เราก็จะไม่ได้คำตอบเหมือนเช่นเดิม หรือไม่เราก็ได้คำตอบเดิมคือความโกรธ เพราะเรามีมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารเท่านั้น เราไม่มีมากกว่านั้น

     โทสะ ในภาษาธรรมเบื้องต้นก็ต้องเข้าใจว่าคือ โทสะมูลจิต ๒ ประกอบด้วย

     ๑. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง
     ๒. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

     หากที่สุดแล้วท่านยืนยันจะไม่จดจำ จะต้องเข้าใจก่อนจึงจะจดจำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือท่านจะมีความรู้สึกเหมือนเข้าใจแต่เป็นความเข้าใจที่เกิดจากมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสาร จะไม่สามารถไปสู่การสิ้นสุดวัตต สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ และไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

     แต่หากท่านเริ่มจดจำข้อธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเวนัยสัตว์เพื่อสร้างมโนทัศน์(Concept)ที่ถูกต้องในการศึกษาธรรมแล้ว ท่านก็จะสามารถเข้าสู่การทำความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธองค์เพื่อไปสู่การสิ้นสุดวัตต สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ และนี่คือจุดต่างสำคัญที่จะทำให้เรื่องราวที่จะอธิบายต่อไปแตกต่างจากที่เรารู้อยู่เดิมอย่างสิ้นเชิง...

ภาษาโลก-ภาษาธรรม (มหาพุทธชยันตี ๒๖๐๐)

ภาษาโลก-ภาษาธรรมสำคัญขนาดไหนทำไมถึงต้องเน้นย้ำกันอยู่ตลอดถึงคำๆนี้?

ในอดีตตั้งแต่ก่อนการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีการใช้ภาษามคธ ภาษาสันสกฤต ฯลฯ ในการสื่อสาร แต่เมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ตรัสสั่งสอนเวไนยสัตว์ด้วยข้อธรรมต่างๆ ซึ่งภาษาที่พระพุทธองค์ใช้เป็นพระพุทธพจน์มีลักษณะเหมือนกับภาษามคธ แต่แตกต่างกับภาษามคธอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากพระพุทธพจน์(ภาษาธรรม)นั้นเป็นเหตุเพื่อนำพาเวไนยสัตว์ไปสู่การสิ้นสุดวัตตะ สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด 

ดังนั้นหากเราผู้ศึกษาธรรมไม่สามารถมองความแตกต่างระหว่างภาษาโลก-ภาษาธรรมออกเราก็จะทำได้เพียงการแปลภาษามคธ ภาษาสันสกฤต ฯลฯ ซึ่งเป็นภาษาสื่อสารจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง โดยมิได้เข้าสู่ภาษาธรรม(พระพุทธพจน์)เพื่อไปสู่การสิ้นสุดวัตตะ สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดแต่อย่างใด

ตัวอย่างเบื้องต้นเพื่อประกอบการทำความเข้าใจภาษาโลก-ภาษาธรรม

ภาษาโลก

จิตพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายว่า [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).

จิตพจนานุกรม ไทย-ไทย โดย อ.เปลื้อง ณ นคร มีความหมายว่า (มค. จิตฺต) น. ใจ.

จิตแปลภาษา ไทย-อังกฤษ โดย NECTEC's Lexitron Dictionary มีความหมายว่า [n.] mind [syn.] ใจ,จิตใจ,ความคิด

ซึ่งคำว่า จิตที่กล่าวมาด้านบนทั้งหมดนั้นล้วนเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นการแปลภาษาสื่อสารจากภาษาหนึ่ง ไปสู่ภาษาสื่อสารอีกภาษาหนึ่ง มิใช่พระพุทธพจน์ที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภาษาธรรม

                หากเป็นพระพุทธพจน์(ภาษาธรรม)เบื้องต้น จิตจะหมายถึง จิต ๑๒๑ ประกอบด้วย กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ โดยมีองค์ประกอบเบื้องต้นดังรูปต่อไปนี้


วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

กำเนิดจักรวาล


ภาพแผนผังของจักรวาลที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์

การกำเนิดจักรวาลโดยวิทยาศาสตร์

ค.ศ. 1929 เอ็ดวิน ฮับเบิลพิมพ์แผนภาพที่มีชื่อเสียง แสดงดาราจักรเกือบทั้งหมดเคลื่อนที่ห่างจากดาราจักรของเรา ด้วยความเร็วถอยห่าง เป็นสัดส่วนกับระยะทางปัจจุบัน หรือดาราจักรไกลกว่าก็เคลื่อนที่เร็วกว่าดาราจักรใกล้ๆ แม้แต่ฮับเบิลเองตอนแรกก็ปฏิเสธความคิดเช่นนี้ ข้อมูลเหล่านี้บอกว่า จักรวาลทั้งหมดกำลังขยายตัวจากการยืดของอวกาศระหว่างดาราจักร เมื่อจักรวาลขยายตัว มันหนาแน่นน้อยลงและเย็นตัวมากขึ้น การมองย้อนกลับไปในอดีตสรุปได้ว่าจักรวาลมีการเริ่มต้นแน่นอน ตอนนั้นมันอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบอัดและร้อนมาก จากจุดเริ่มต้นหนาแน่น มีการบวมตัวที่รู้จักในสภาพบิกแบง (Big Bang)


จักรวาลขยายตัวยังไม่มีนิยามของจุดเริ่มต้นดีพอ มีแต่การขยายตัวตลอดเวลา ความหนาแน่นเฉลี่ยยังคงเหมือนเดิม เพราะมีการสร้างมวลต่อเนื่อง เฟรด ฮอยล์ , เฮอร์แมนน์ บอนดิ และ ทอมัส โกลด์ เสนอทฤษฎีสภาวะคงที่ (steady - state theory) ในค.ศ.1948 แม้มีความสุนทรีในสายตานักดาราศาสตร์บางคน แต่ทฤษฎีสภาวะคงที่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเดียวกับจักรวาลบิกแบง ในค.ศ. 1965 อาร์โน เพนเซียส์ และโรเบิร์ต วิลสัน ล้มทฤษฎีสภาวะคงที่จากการค้นพบรังสีฉากหลังไมโครเวฟคอสมิค (CMB: cosmic microwave background) ที่เป็นรังสีเรืองจางหลงเหลือจากอดีตร้อนไกล ทฤษฎีสภาวะคงที่ไม่มีเหตุผลอธิบายรังสีแบบนี้ แต่แบบจำลองบิกแบงอธิบายได้ ยิ่งกว่านั้น ทฤษฎีสภาวะคงที่ไม่สามารถอธิบายจำนวนไฮโดรเจนธรรมดา (โปรตอน) ไฮโดรเจนหนัก (ดิวเธอเรียม) ฮีเลียม และลิเธียม ในก้อนกาซระหว่างดาราจักร ที่ไม่ได้รับผลใดๆจากขบวนการวิวัฒนาการในดาว ภายในไม่กี่นาทีแรกหลังบิกแบง ความหนาแน่นและอุณหภูมิของจักรวาล เป็นตัวทำให้เกิดธาตุเบาในก้อนกาซเริ่มแรก ที่สอดคล้องกับที่วัดในก้อนกาซดั้งเดิมเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์เกือบทั้งหมดเชื่อแล้วว่า ทฤษฎีสภาวะคงที่ไม่ถูกต้อง



การกำเนิดจักรวาลโดยพระพุทธศาสนา

จากภาพนักวิทยาศาสตร์ยังค้นถึงแค่ควาร์ก ยังไม่สามารถศึกษาลงไปได้ลึกกว่านี้ ฉะนั้น(กว่าจะค้นคว้า)ไปถึงที่เรียกว่า “อวินิพโภครูป” นี้ต้องใช้กาลเวลาอินฟินิตี้ (infinity) เมื่อไรไปถึง “อวินิพโภครูป” นี้เมื่อนั้นเราจะเห็น “เทวดา” นักวิทยาศาสตร์จึงจะเห็น (พรหม) เทวดา เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เมื่อจากคว๊ากไปนี้เป็นอินฟินิตี้ (infinity) ไม่รู้เมื่อไรมันมากมายมหาศาลจนไปถึง “อวินิพโภครูป ๘” (อวินิพโภครูป ๘ ประกอบด้วย ปฐวีมหาภูตรูป อาโปมหาภูตรูป เตโชมหาภูตรูป วาโยมหาภูตรูป รูปวิสยรูป คันธวิสยรูป รสวิสยรูป อาหารรูป) เมื่อนั้นจะเริ่มเห็นเทวดา จะเห็นพรหม

พระพุทธศาสนาไม่หมือนใคร เพราะพระพุทธองค์สำเร็จแล้วรู้ที่มาที่ไป แต่เนื่องจากคนที่เป็นชาวพุทธไม่ทราบ เลยไปเทียบกับวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ค้นมาเพื่อให้รู้ว่าพระพุทธองค์นั้นรู้ขนาดไหน วิทยาศาสตร์จะค้นอะไร พอบอก(ว่า) “อวินิพโภครูป” เราก็ไม่เข้าใจอีกว่า “อวินิพโภครูป” คืออะไร แล้วมาอย่างไร พระพุทธองค์บอกว่าข้างนอกรวมกับ(อุปาทายรูป ๔)ข้างใน(เป็น) “อวินิพโภครูป” พอเราเกิดมาแล้ว “อวินิพโภครูป” พอรวมกันแล้วนี้เราจะกินดินเพราะเราต้องกินดิน แล้ว “ดิน” เรากินไม่ได้ ฉะนั้นเขาก็สร้าง “อวินิพโภครูป” มาว่า “จะกินดินรึ” ก็มีต้น “รูป” ขึ้นมาเป็นต้นมะม่วง แล้ว(โต)ขึ้นไป เรื่อยๆ มะม่วงก็กินดิน อาโป เตโช (ที่เป็น) อุตุ อาหาร นี้ (ทั้ง) ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ฯลฯ ที่เราเรียกกันนี้ทั้งหมดที่เป็นธาตุสารอาหารก็เกิดจาก “เราสร้าง” หมด เสร็จแล้วจะกินดิน ทีนี้มันก็ออกช่อเป็นผลมะม่วง พอมะม่วงเริ่มสุกเราก็เอามากิน ที่จริง(ก็คือ)เราก็กินดิน ถ้าทิ้งต่อไปมะม่วงก็จะกลับไปเป็นดินเหมือนเดิม เป็น ปฐวี อาโป เตโช (วาโย) เหมือนเดิม เราจะกินผลหมากรากไม้(อย่าง)เราจะกินแอปเปิ้ล แอปเปิ้ลก็ต้องมากินดินให้เราก่อน กินดินแทนเรา เรากินดินไม่ได้ แล้วมันก็ขึ้นมา พอขึ้นมาเสร็จเราจึงกินแอปเปิ้ล ที่จริงเรากินดินนั่นเอง ในดินก็(มี) ปฐวี อาโป เตโช วาโย จะเห็นว่าแอปเปิ้ลมีน้ำ มีความร้อน มีอาหาร (คือ)เป็นธาตุสารอาหารหมด แล้วมันต้องใช้แสงแดด (คือ) “รูปของมหาภูตรูป ๔” ที่สร้างนี้มาเผาให้ผลไม้ค่อยๆ แก่ขึ้น แก่ขึ้น พอแก่ได้ที่ก็ตกปุ๊บลงมาข้างล่าง เสร็จแล้วก็เป็น “มหาภูตรูป ๔” ไป เป็น “อวินิพโภครูป” ไป แล้วก็กลับมาเลี้ยงเรานี้


ฉะนั้นในสุริยจักรวาลมี อวินิพโภครูป ๘ และ “มหาภูตรูป ๔” (คือ) ยังมี “มหาภูตรูป ๔” (ที่) ยังไม่ได้รวมตัวกันอีก แต่เมื่อไรแรงส่งอย่างนี่เกิดขึ้นมา(จะ)เปลี่ยนโลกนี้ โลกนี้วันหนึ่งมันสลายไปมันจะเกิดก็แบบเดียวกัน แล้วจะต้องมี “มหาภูตรูป ๔” และ “อุปาทายรูป ที่เป็น กัมม จิต อุตุ อาหาร คัดได้ ๔ อัศจรรย์ไหมพระพุทธองค์ทราบได้อย่างไร แล้วส่งมาแค่ ๔ (คือ) ส่ง รูป(วิสยรูป) คันธ(วิสยรูป) รส(วิสยรูป) อาหาร(รูป) ส่งออกมาๆ รวมกับ “มหาภูตรูป ๔” จึงเกิดระบบสุริยจักรวาลขึ้น ที่พระพุทธองค์บอกว่าระบบสุริยจักรวาลนี้มีเป็นแสนล้านโกฏิจักรวาล เป็นอนันตจักรวาลที่ไม่เที่ยง นี่คือลักษณะการเกิดของระบบสุริยจักรวาล แค่เรามาเกิด ฉะนั้นเวลามาเกิดแล้วมันก็ค่อยเย็นลงเป็นโลกของเรานี้ ในโลกมี “รูปวิสยรูป” นี้รูปทั้งหมดนี้ก็คือจะเป็นรูปอะไรก็ได้ จะทานผักบุ้งผักบุ้งก็ออกมา จะทานดอกโสน จะทานอะไรทั้งหมดเขาก็ออกมา เราอยากจะรวยจึงเจอเพชร เจอแหล่งเพชร มีหมด แล้วทั้งหมดคือ “อวินิพโภครูป” ทั้งหมด เราทำบุญกุสลมาเกิดมาแล้วเราต้องมีทอง มีเพชร มีบ้าน มีอะไรทุกอย่างหมด ก็เพราะเราทำมาเขาเลยสนองให้หมดเลย เราก็ตัดไม้ทำลายป่าตัดให้หมด ไหนๆ มันจะหมดก็ให้หมดรุ่นเรานี้ ไม่ได้คิดเผื่อรุ่นอื่น


ต่อไปก็จะเกิดระบบแบบนี้ แล้ววันหนึ่งวันใดเขาก็สลายไปเช่นเดียวกัน จะสลายไปก็โดย “อวินิพโภครูป” อย่างน้ำ อย่างที่ดิน นี้มีแค่ “อวินิพโภครูป ๘” เท่านั้นไม่มีมากกว่านี้ แล้วพระพุทธองค์ทราบได้อย่างไร นี่แหละที่เขาบอกว่า “อจินไตย” แต่จริงๆ แล้ว “อจินไตย” คือสิ่งที่ชี้แจงได้ เกิดขึ้นได้อย่างไร ระบบสุริยะอย่างไร จะเห็นว่าเราก็(ตอบ)ได้แล้ว จึงบอกว่าอวินิพโภครูปและวินิพโภครูป(คือ) อวินิพโภครูป ๘ และ “วินิพโภครูป ๒๐” ฉะนั้น “มหาภูตรูป” ก็เลย เข้ากันได้ และเข้ากันไม่ได้ กับตัวเรา อย่างเราจะปลูกบ้าน ถ้าพื้นดินไม่มี “อวินิโภครูป” นี้ จะปลูกไม่ได้ เราเลยใช้อะไรที่เราจะนอนแล้ว เราจะอยู่ทั้งหมดมีทั้ง อุตุ และ อาหาร

ถ้าไปสวรรค์ “อุตุ” (นี้) เรียกว่า “วิมาน” “อุตุ” นี้เวลาไปอยู่สวรรค์เรียกว่า “วิมาน” ก็จะมีอยู่ทุกแห่งหนทุกที่ทุกหมู่ทุกเหล่าจะมี “อวินิพโภครูป” ทั้งนั้น “อวินิพโภครูป” ที่เป็นสสัมภาระ นี่หนึ่งกระบวนการสร้าง(ก็คือ)กระบวนการสร้างของจักรวาล แล้วจักรวาลหนึ่งก็จะเป็นแบบนี้ ถ้าเมื่อไร “พระโพธิสัตว์” ปรารถนาไม่ใช่จักรวาลนี้ จะเป็นโลกไหนก็ตาม ก็ไปร่วมสร้างกันทั้งหมดทั้ง ๓๑ ภูมินี้ ฉะนั้นสิทธิไม่ใช่ของเราเราจึงไม่มีสิทธิในโลกนี้ อย่างที่เรามีเนื้อที่ ๑๐๐๐ ไร่อยู่แล้วก็ตาย ตายแล้วตายอีก เพราะนี่เป็นของกลาง รุกล้ำที่ดินอย่างไรก็เอา(ที่ดิน)ไปไม่ได้ จะไปโกงขโมยอย่างไรเอาไปไม่ได้หมดเลย ขโมยเงินธนาคารก็ไม่ใช่(เป็นของเรา)เพราะจากเรามันหายไปที่อื่นแล้ว ขโมยเงิน ขโมยทอง ขโมยอะไรนี้ เอาไปไม่ได้ทั้งสิ้น เขาให้ผลัดกันชิมลาง


เพราะมี “มหาภูตรูป” นี้เราจึงเกิดได้ (ที่)เรียกว่า “อวินิพโภครูป” นี้ เราเข้าท้องพ่อท้องแม่ก็เจอ “อวินิพโภครูป” ก่อนเลย เราเข้ามา(ทาง) “อวินิพโภครูป” จะเห็นว่าเราก็มาจากทางนั้น มันต้องมีสื่อซึ่งกันและกัน (มี)สื่ออายตนะจากสิ่งนี้ไปสู่สิ่งนี้ให้เข้ากันได้ เราจึงรับประทานอาหารที่อยู่บนโลกนี้ได้เพราะเราทำมาเอง เราทำน้อยเราก็กินน้อย จะโทษใครก็เราทำน้อย คนทุกคนจึงไม่เหมือนกัน อยู่ในโลกนี้ได้ไม่ใช่ว่าเราเป็นเจ้าของ อย่าลืมว่าสัตว์เขาก็เป็นเจ้าของ บ้านเราๆ สร้างพอปลูกเสร็จเขาก็อาศัย อาศัยกินบ้านเรา แล้วเมื่อสร้างด้วยกันใครจะมาถือสิทธิอย่างไร ทั้งหมดเลยมาอาศัย ทุกอย่างนี้เป็นที่อาศัยแล้วมันก็เบียดเบียน ใครมีกำลังมากก็เบียดเบียน เมื่อก่อนที่เราจะมาอยู่เป็นป่า มีเสือ มีช้าง มีอะไรเยอะแยะหมดเลย ถูกเราไล่เรียบร้อยไปไหนจนไม่เห็นมา พอเขาบอก “ที่นี่เคยมีช้าง” ไม่เชื่อแล้วเพราะว่านี่มันบ้านเมืองเจริญแล้ว มันก็เป็นแบบนี้


จะเห็นว่าการสร้างระบบสุริยจักรวาลนี้มันเปลี่ยนไปหมด พระพุทธองค์จึงบอกว่าโลกนี้ไปโลกไหน โลกไหน ก็พระพุทธองค์ไปเยี่ยมหมดจึงรู้ว่ามีอนันตจักรวาล แล้วไม่มีใครรู้ว่าโลกกลม (แต่)พระพุทธองค์บอกว่าโลกกลม โลกลอยอยู่บนอากาศ ซ้อนกันไปซ้อนกันมา จะเห็นว่าเรานี้ลอยอยู่บนอากาศ เก่งขนาดไหน ดูซิว่านี่เราไม่รู้เลย เพราะว่าโลกกลมนี้มันต้องเอียงไปเอียงมาแต่เราไม่รู้ แล้วมีใครรู้บ้าง นักวิทยาศาสตร์สมัยก่อนเขาก็ค่อยๆรู้ไปจนกระทั่งเขารู้ว่าโลกกลม แต่พระพุทธเจ้าบอกว่าโลกกลม โลกลอยอยู่บนอากาศ เป็นระบบสุริยจักรวาล สร้างโดย “อวินิพโภครูป” จะเห็นว่า(พระพุทธเจ้า)ยิ่งใหญ่ขนาดไหน พระพุทธองค์ทราบหมดไม่มีอะไรที่ไม่ทราบ (ส่วน)นักวิทยาศาตร์ มาทำให้เราคนมีบุญ(คือ)มาสร้างเครื่องบินให้เรานั่ง มาสร้างรถให้เรา เราไม่ต้องไปทำ เสียเวลา สมองเราไม่มีการสร้าง เราก็ซื้ออย่างเดียวเรามีเงินซื้อ เราไม่ต้องไปเสียเวลาเรามาสิกขาธัมมท่องจิต เจตสิก เดี๋ยวเงินมาก็ซื้อรถได้ ไปทำอะไรก็ได้ให้เป็น “กุสล” อย่างเดียว เราไม่ต้องไปเหนื่อยให้คนเขาคิดให้เหนื่อยไป ให้เขารวยไป แต่เขาเอาไปไม่ได้ เขาจะสร้างเครื่องจักรเครื่องอะไรทั้งหมดเดี๋ยวมันก็เสื่อมสลายไป เขามาให้เราใช้ บังเอิญเราโชคดีมีบุญ แต่เราก็ใช้แค่ชาตินี้แล้วก็ไม่ได้ใช้ต่อไป

นี่แหละ(การเกิด)ระบบสุริยจักรวาล

- “มหาภูตรูปภายนอก” แท้ๆ มี “มหาภูตรูป ๔”

- แล้วถูก “เหตุ” ดึง “มหาภูตรูป ๔” เข้าไปเป็น “ปัจจยเหตุ”

- เลยนี่ “รูป” ที่เรา ที่ “มหาภูตรูปข้างใน”

- แล้วข้างในนี้จึงจะสร้าง “อุปาทายรูป ๒๔

- แล้วใน “อุปาทายรูป ๒๔” ที่สร้างแล้ว ก็ส่งออกมาให้มาเข้ากับ “มหาภูตรูป ๔ ภายนอก” ซึ่งมาจาก “อุปาทายรูป ๔” นี้

- พอมาเข้าด้วยกันก็เกิดการหมุนเวียน การเคลื่อนอย่างแรง ถ้า “พระโพธิสัตว์” ส่งมานี้ เพราะโลกนี้พระโพธิสัตว์จะมาตรัสรู้ (แล้วยังมี) พระปัจเจกพุทธเจ้าส่งมา พระอรหันต์เถระทุกองค์(พระมหาสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวก อสีติมหาสาวก อรหันตสาวก) แล้ว “อุบาสก อุบาสิกา” สาวกอีก แล้วนอกนั้น ก็ที่เหลือทั่วไป ช่วยกันสร้าง เราก็เลยได้มาอยู่ในโลกนี้ ก็มีทรัพย์สินเงินทองใช้จ่ายจะทำอะไรเราก็สบาย มีผลหมากรากไม้ เมืองไทยนี้สมบูรณ์หมด ก็เพราะเราทำมา เราไม่ได้รับประทานอันนี้ อันนี้ ก็เพราะไม่ได้ทำมา คือถ้าเราไม่ได้ทำมา(จะ)ไม่มีโอกาสรับประทาน ที่เราได้รับประทานทุกอย่างก็เพราะเราทำมา ไม่อย่างนั้นไม่ได้ชิมเลย ทุกอย่างเราทำมากับมือแต่อย่าไปนึกว่าของเรา (แต่)เป็นของส่วนรวม ต้นมะม่วงมันอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เราตายไปแล้วต้นมะม่วงยังอยู่เพราะมันรอคนอื่นเขามากินต่อ ผลหมากรากไม้(ก็เช่นเดียวกัน) ข้าวนี้เราตายไปแล้วเขาก็งอกแล้วงอกอีกคนอื่นเขาก็มากินต่อ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวอะไร ก็มีคนมากินต่อ ทุกอย่างมีคนมากินต่อกันหมด มันเป็นส่วนรวม เป็นสาธารณะ จึงมีคำว่า “สาธารณเหตุ” นี่คือสาธารณะ เป็นส่วนรวมทั้งสิ้น





บทความพื้นฐานที่ควรอ่าน

- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- ทำไมต้องจดจำ และเข้าใจ จิต เจตสิก รูป และลักขณาทิจตุกกะ
- จิต ๑๒๑
- รูป ๒๘

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"


๒๕๕๓๑๑๒๐๒๑๘๖๙๐



วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาษาที่ใช้ในการสิกขาธรรม

รูปแสดงที่มาของภาษาต่างๆ

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๙/ ๙๑ มหามกุฏราชวิทยาลัย จุลวรรค ทุติยภาค และอรรถกถา
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกัน เข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ตถาคตอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม.

บทความที่เกี่ยวข้อง

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"